Skip to main content

News in:  BM | TH | CN

Published: 28 April 2019

HINO Hybrid Bus

ระบบขับเคลื่อนยานยนต์แบบลูกผสมหรือที่รู้จักกันดีในนามของระบบไฮบริดซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างพลังงานจากนำ้มันและแบตเตอร์รี่ไฟฟ้าสลับกันจ่ายพลังงานให้กับเครื่องยนต์ในขณะเดียวกันเมื่อมีพลังงานที่เหลือจากการใช้งานจะถูกส่งคืนกลับไปยังแบตเตอร์รี่เพื่อชาร์ตประจุเก็บไว้ใช้งานหมุนเวียนไปโดยไม่ต้องเสียบชาร์ตไฟระบบเครื่องยนต์แบบไฮบริดถูกนำมาใช้ในรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทำการตลาดมานานหลายปีโดยเฉพาะกับโตโยต้าที่นับได้ว่าประสบความสำเร็จในการจำหน่ายรถยนต์นั่งระบบไฮบริดการนำมาใช้กับยานยนต์ลักษณอื่นยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร

แต่ทุกวันนี้กระแสเรื่องพลังานทางเลือกสำหรับยานยนต์กำลังได้รับความสนใจรวมไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม (โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า) แต่รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีสิ่งที่ตามหลังมาอีกมากโดยเฉพาะการต้องทำระบบรองรับในเรื่องของการเติมพลังงานไฟฟ้าซึ่งจะต้องลงทุนอีกมากในการสร้างสถานีจ่ายกระแสไฟระบบเครือข่ายรองรับด้วยเหตุนี้การขยับไปทีละขั้นจึงดูจะเหมาะสมกว่าสำหรับประเทศไทยการเริ่มต้นด้วยระบบไฮบริดจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม

 Asian Trucker ติดตามข่าวคราวเรื่องรถบัสไฮบริดของบริษัทฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) มาโดยตลอดบริษัทฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) ผลิตและประกอบรถบัสไฮบริดคันแรกขึ้นโดยโรงงานของฮีโน่ในประเทศไทยและได้นำให้ขสมก.ทดลองวิ่งใช้งานในกรุงเทพฯสิ่งได้รับความสนใจและตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดีข้อมูลที่ได้จากการวิ่งใช้งานนั้นสามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ถึงหกแสนบาทต่อปีเลยทีเดียว (ประหยัดกว่ารถดีเซลปกติ 50 %) ซึ่งเป็นรถบัสที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในเมือง

บริษัทฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) จึงเดินหน้าเรื่องรถบัสไฮบริดอย่างต่อเนื่องเพราะเล็งเห็นถึงประโยชน์ในหลายด้านที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะกับสังคมในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

ล่าสุดบริษัทฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัดร่วมกับบริษัทเชิดชัยคอร์ปอเรชั่นจำกัดนำโดยนายอำนวยพงษ์วิจารณ์กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัดและนายสุรวุฒิเชิดชัยกรรมการผู้จัดการบริษัทเชิดชัยคอร์ปอเรชั่นจำกัดได้นำเสนอรถโดยสารปรับอากาศชานต่ำรุ่นใหม่ระบบเครื่องยนต์ดีเซลและไฟฟ้า (ไฮบริด) ให้กับคุณวิเชียรจันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาและคณะฯเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562 ณศาลากลางจ.นครราชสีมา

ซึ่งรถคันดังกล่าวผลิตและประกอบขึ้นภายในประเทศไทยรูปลักษณ์ทันสมัยชูจุดเด่นด้านเทคโนโลยีใหม่ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงลดมลพิษเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมก้าวสู่ Smart City เจาะกลุ่มเป้าหมายรถขนส่งผู้โดยสารในเมือง (ทั้งในกรุงเทพและจังหวัดใหญ่) และใช้รับส่งผู้โดยสารในสนามบินโดยประกอบจึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาโดยบริษัทเชิดชัยคอร์ปอเรชั่น

รถโดยสารฮีโน่ไฮบริดคันนี้เป็นรถโดยสารปรับอากาศชานต่ำไม่มีบันได (Non step bus) มีความยาว 12 เมตรห้องโดยสารกว้างขวางสามารถปรับจำนวนที่นั่งได้ตามการใช้งานเครื่องยนต์เป็นระบบดีเซลรุ่นใหม่ความจุ 5 ลิตรให้กำลังสูงสุด 260 แรงม้าจับคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ขนาดเหมาะสมเก็บไฟฟ้าเพียงพอกับการใช้งานมีความปลอดภัยทนทานเหมาะกับการใช้งานในภูมิภาคร้อนอย่างประเทศไทยระบบไฮบริดจะนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในการออกตัวและสามารถประจุไฟฟ้ากลับเข้าแบตเตอรี่ได้โดยอัตโนมัติขณะลดความเร็วไม่จำเป็นต้องใช้สถานีประจุไฟฟ้ามาพร้อมกับเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะพร้อมระบบเปลี่ยนเกียร์ได้ด้วยมือและระบบดับเครื่องยนต์ชั่วขณะเมื่อจอด (Idle Stop) ทำให้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงประหยัดมากกว่าเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไป 40-50% (ขึ้นกับสภาพจราจรและพฤติกรรมคนขับ) และการปล่อยค่ามลพิษทางไอเสีย CO2 น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรถโดยสารระบบดีเซลช่วงล่างเป็นระบบถุงลมมีความนุ่มนวล

แน่นอนว่านี่เป็นเพียงการเปิดตัวให้เห็นถึงศักยภาพของรถขีดความสามารถของโรงงานประกอบรถรถโดยสารฮีโน่ไฮบริดคันนี้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์นำเข้า 40% อีก 60% เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศและส่วนใหญ่จัดหาจากผู้ผลิตและผู้ประกอบการในนครราชสีมาซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทางบริษัทฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) ให้ความสำคัญซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งเราเชื่อว่าหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในการนำไปใช้งานในอนาคตราคาของรถโดยสารไฮบริดก็จะมีราคาถูกลงแต่แน่นอนว่าถึงแม้ว่าราคาเริ่มต้นจะแพงกว่าแต่เมื่อใช้งานไปแล้วจะถูกลงและประหยัดกว่าระบบเครื่องยนต์ดีเซลปกติอย่างแน่นนอนทางบริษัทฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) แจ้งว่าข้อมูลจากการทดลองว่าใช้งานโดยขสมก.นั้นรถโดยสารไฮบริดจะมีจุดคุ้มทุนอยู่ที่สี่ปี

(รถโดยสารดีเซลปกติราคาโดยประมาณหกล้านบาทรถโดยสารไฮบริดราคาแปดถึงสิบล้านบาทขึ้นอยู่กับออฟชั่น)